วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พันธุ์โคเนื้อในไทย


 
 
โคพื้นเมือง


      โค พื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านใน แถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250  ก.ก.
      ลูกโคเป็นผลผลิต หลักของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยง ให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
      การเลี้ยงแม่โค เนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์โค ที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงโค ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าโคพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร

ข้อดี  
1. เลี้ยง ง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดใน พื้นที่ได้เป็นอย่างดี
2. ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
3. ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
4. ใช้แรงงานได้ดี
5. แม่ โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือ โคกบินทร์บุรี
6. มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
7. สามารถใช้งานได้
ข้อเสีย 
1. เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
2. ไม่ เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
3. เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก
 
โคพันธุ์ตาก


      เป็น โคลูกผสมระหว่างพันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว เนื้อนุ่ม เพื่อทดแทนการนำเข้าพันธุ์โคและะเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ

      การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธู์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูงจากประเทศฝรั่งเศส ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก 1) ที่มีเลือด 50% ชาร์โรเล่ส์ และ 50% บราห์มัน แล้วผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 1 ดังกล่าวด้วยน้ำเชื้อหรือพ่อบราห์มันพันธุ์แท้ได้ลูกโคชั่วที่ 2 (เรียกโคพันธุ์ตาก 2) ซึ่งมีเลือด 25% ชาร์โรเล่ส์ และ 75% บราห์มัน จากนั้นผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 2 ด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูง ได้ลูกโคชั่วที่ 3 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก) ซึ่งมีเลือด 62.5% ชาร์โรเล่ส์ และ 37.5% บราห์มัน แล้วนำโคชั่วที่ 3 ผสมกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่า โคพันธุ์ตาก
ข้อดี  
1. มีการเติบโตเร็ว ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) ซากมีขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2. เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกกินหญ้า ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร
3. เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุนได้
4. แม่พันธุ์ผสมพันธุ์ได้เร็ว ที่ศูนย์ฯ ตาก ผสมพันธุ์ที่แม่โคอายุ 14 เดือน น้ำหนัก 280 ก.ก.ขึ้นไป
ข้อเสีย 
1. การ เลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าโดยไม่ดูแลเอาใจใส่ หากเลี้ยงในสภาพปล่อยป่าหรือปล่อยทุ่ง ควรใช้พันธุ์ตาก 1 หรือโคพันธุ์ตาก 2





 
วิธีสร้างโคพันธุ์ตากโดยเกษตรกร
 
โคพันธุ์กำแพงแสน



      วัว พันธ์กำแพงแสนกำเนิดครั้งแรกที่ อ.กำแพงแสนจังหวัด นครปฐม โดยทาง ม.เกษตร กำแพงแสน เป็นผู้ทดลองปรับปรุงพันธ์ขึ้นมา โดยตั้งชื่อ ตามถิ่นที่วัวกำเนิด ว่า กำแพงแสน  เจ้าวัวกำแพงแสนนั้นเป็นวัวที่ ประกอบไปด้วย วัว 3สายพันธ์ คือวัวพันธุ์พื้นเมืองไทย 25% วัวพันธ์บราห์มัน       25% วัวพันธ์ชาโลเล่ส์      50%
แผนผสมพันธุ์เพื่อสร้างโคพันธุ์กำแพงแสน

 

โคพันธุ์กบินทร์บุรี

      เป็น โคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี) ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็นโคขุน และแม่โคใช้รีดนมได้ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทัล คุณภาพสูงจากประเทศเยอรมันผามกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้ลูกโคชั่วที่ 1 ที่มีเลือด 50% ซิมเมนทัล และ 50% บราห์มัน แล้วผสมโคชั่วที่ 1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่เรียกว่า โคพันธุ์กบินทร์บุรี ซึ่งโคพันธุ์นี้มีสีแดงเข้มคล้ายโคพันธุ์ซิมเมนทัล เป็นโคขนาดกลาง เพศผู้โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 900 - 1,000 กิโลกรัม เพศเมีย 600 - 700 กิโลกรัม
ข้อดี  
1. หากเลี้ยงแบบโคเนื้อมีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีได้
2. ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร
3. เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกเพศผู้มาเลี้ยงเป็นโคขุน ลูกเพศเมียใช้รีดนมได้มากพอสมควร
ข้อเสีย 
1. การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าหรือปล่อยทุ่ง
2. หาก ใช้แม่โครีดนม ลูกโคที่เกิดออกมาต้องแยกเลี้ยงแบบลูกโคนม ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ในการเลี้ยงโครีดนม และต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี
3. เนื้อมีสีแดงเข้ม อาจเป็นข้อติของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีเมื่อเปรียบเทียบกับโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ เช่น โคพันธุ์ตาก และโคกำแพงแสน
 

โคพันธุ์ฮินดูบราซิล


      โค พันธุ์ฮินดูบราซิล เป็นโคที่มีเชื้อสายทางอินเดียแต่ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศบราซิล จึงได้ตั้งสรรนามใหม่ว่า "ฮินดูบราซิล" คำว่า "ฮินดู" หรือ "อินดู" นั้นแปลว่าอินเดีย ส่วนบราซิลคือการเอาวัวเข้าประเทศ ก่อนจะมีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ ในประเทศบราซิลลักษณะทั่วไปลำตัวมีสีขาวจนถึงเทาอ่อนเกือบดำและมีสีน้ำตาล แกมแดงเรื่อๆ หรือ แดงเป็นจุดขาว ส่วนลำตัวนั้นมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์บราห์มัน ในส่วนของโคเพศผู้ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ900 - 1,200 กิโลกรัม เพศเมีย น้ำหนักโตเต็มที่ 600 - 700 กิโลกรัมเมื่อครั้งเจริญเติบโตเป็นพ่อพันธุ์ รูปร่างจะได้สัดส่วนงดงาม หัวยาว หน้าผากนูนเล็กน้อย ปลายจมูกอูม หางตาแหลมเฉียงขึ้นเล็กน้อย เกือบชิดกันทั้งสองข้าง มีขาใหญ่ที่มั่นคงและแข็งแรง หูมีขนาดใหญ่กว้างและห้อยยาว ห้อยหลวมๆ มัดแกว่งไปมา หยิกทั้งด้านในและด้านนอก ที่สำคัญหูต้องกำม้วนขอบ เหมือนกับใบไม้แห้งกรอบส่วนตรงปลายหูมักจะหยักและหยิกบิดเกรียวไปสู่ปลาย จมูก จึงมีการเรียกลักษณะวัวชนิดนี้กันว่า"วัวหูยาว"ลักษณะความสวยงามพิเศษอีกอ ย่าง หัวกระบานต้องใหญ่หน้าผากกว้างโหนกนูน และค่อนข้างยาวคิ้วเป็นสันโค้งเหนียงคอใหญ่หย่อนยานมาก หนอกหลังเด่นอยู่บนหัวไหล่ พร้อมกับเอนราดลงมาผสมกลมกลืนกับส่วนลำคอเขาแข็งแรงและมักเอนไปทางด้านหลัง เล็กน้อย มีโคร่งร่างใหญ่ ค่อนข้างสูง นี่คือลักษณะโคพ่อพันธุ์อินดูบราซิลที่ดี และที่สำคัญปริมาณเนื้อมาก ส่วนลักษณะอื่นๆก็คล้ายๆกับโคพันธุ์บราห์มัน
ข้อดี  
1. เป็นโคทนร้อน ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศบ้านเราได้
2. ทนต่อโรคและแมลง
ข้อเสีย 
1.
ไม่ เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นโคเนื้อที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นโคขนาดใหญ่ สร้างกล้ามเนื้อช้า ผู้เลี้ยงโคขุนจึงไม่นิยมนำไปเลี้ยงขุน อาจเป็นเพราะในบ้านเราในอดีตนิยมเลี้ยงตัวที่มีลักษณะสวยงาม เช่น หูยาว หน้าผากโหนกกว้าง แทนที่จะเลือกโคที่โตเร็ว การส่งเสริมให้เลี้ยงโคพันธุ์นี้มากขึ้นจะเป็นการทำลายเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจไปแย่งทรัพยากรที่ควรใช้ในการเลี้ยงโคพันธุ์อื่นที่ให้ผลตอบแทนทาง เศรษฐกิจมากกว่า
2.
การเลี้ยงต้องเอาใจใส่ดูแลพอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าหรือปล่อยทุ่งโดยไม่ดูแลเอาใจใส่
 

โคพันธุ์บราห์มัน


      โค พันธุ์บราห์มัน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศ อินเดีย (India) แต่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีชื่อเรียกว่าพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (American Brahman) ในเวลาต่อมาโคสายพันธุ์อเมริกันบราห์มัน เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์กีร์, พันธุ์กูเซรัทและพันธุ์เนลลอร์ ลักษณะโดยั่วไปลำตัวมีสีหลากหลายตั้งแต่ สีขาว เทาอ่อน สีลายและจนถึงเกือบดำ จมูก กีบและพู่หางมีสีดำ บางตัวอาจมีสีแดง จึงเรียกว่า บราห์มันแดง (Red Brahman) แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด คือ สีขาวและสีเทา โคสายพันธุ์อเมริกันบราห์มัน ชนิดที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย แล้วนำมาคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์ และฟาร์มของเกษตรกรรายใหญ่ในประเทศโคสายพันธุ์อเมริกันบราห์มัน เป็นโคขนาดกลาง เพศผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 800 - 900 กิโลกรัม และมีพ่อพันธุ์บางตัวน้ำหนักโตเต็มที่มากถึง 1,800 กิโลกรัม ในประเทศไทยก็ยังมีให้เห็น ส่วนเพศเมีย จะมีน้ำหนักมาตรฐาน 500 - 700 กิโลกรัม และมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม โดยแม่โคจะให้ลูกเมื่อน้ำหนักแรกเกิดปานกลาง (30 - 32 กิโลกรัม) และน้ำหนักลูกเมื่อหย่านมค่อนค้างน้อย (220 - 230 กิโลกรัม)ลักษณะของโคบราห์มัน เป็นโคที่มีเขาขึ้นชันและงุ้ม มีตระโหนกซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ต่อมาจากกล้ามเนื้อไหล่ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ส่วนหูนั้นจะยาวชี้ลงข้างล่างจนถึงริมผีปาก แต่จะสั้นกว่าพันธุ์อินดูบราห์ซิล มีหนังหลวม เหนียงใต้คางจะใหญ่ หนอกใหญ่และหย่อน ขณะที่ผิวหนังใต้ท้องก็จะหย่อน พู่หางสีดำ ส่วนขานั้นค่อนข้างยาว และจะมีกล้ามเนื้อตรงขาหลังมาก โคนขาใหญ่ มีร่างกายล่ำสัน ลำตัวมีความยาวมากและยาวได้สัดส่วน หน้าผากยาว คอสั้น ส่วนอกกว้างลึก หลังค่อนข้างตรง

ข้อดี  
1. ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนของเมืองไทยได้ดี
2. ทนทานต่อโรคและแมลง โตเร็ว
3. เหมาะสำหรับเป็น โคพื้นฐานเพื่อผลิตโคเนื้อคุณภาพดีและโคนม เช่น ผสมกับพันธุ์ชาร์โรเลส์เพื่อผลิตโคขุน ผสมกับพันธุ์โฮสสไตน์ฟรีเชี่ยน (ขาวดำ) เพื่อผลิตโคนม และผสมกับพันธุ์ซิมเมนทอลเพื่อผลิตโคกึ่งเนื้อกึ่งนม
4. สามารถใช้งานได้
ข้อเสีย 
1. เป็นโคพันธุ์ที่มีอ้ตราการผสมติดค่อนข้างต่ำ ให้ลูกตัวแรกช้า และให้ลูกค่อนข้างห่าง
2. ส่วนใหญ่เลือก กินเฉพาะหญ้าที่มีคุณภาพดี เมื่อหญ้าขาดแคลนจะทรุดง่าย ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อปล่อยเข้าแปลงหญ้าจะเดินตระเวนไปทั่วแปลงหญ้าก่อนแล้ว จึงค่อยเลือกกินหญ้า
 

โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์


      มี ถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 1,100 ก.ก. เพศเมีย 700-800ก.ก.

ข้อดี  
1. มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2. เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน
ข้อเสีย 
1. ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา
2. ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก
 

โคพันธุ์ซิมเมนทัล


      มี ถิ่นกำเนิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นิยมเลี้ยงกันในประเทศยุโรป ในเยอรมันเรียกว่าพันธุ์เฟลคฟี (Fleckvieh) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม ในประเทศสหรัฐอเมริกานำไปคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อ ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือแดงเข้มไปจนถึงสีฟางหรือเหลืองทองและมีสีขาวกระจายแทรก ทั่วไป หน้าขาว ท้องขาว และขาขาว เป็นโคขนาดใหญ่ โครงร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวยาว ลึก บั้นท้ายใหญ่ ช่วงขาสั้นและแข็งแรง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 1,100-1,300 ก.ก. เพศเมีย 650-800 ก.ก.
ข้อดี  
1. มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2. เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน เพศเมียสามารถใช้รีดนมได้
ข้อเสีย 
1. ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา
2. ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก
3. เนื่องจากเนื้อมีสีแดงเข้ม เมื่อเลี้ยงเป็นโคขุนอาจะไม่น่ากินเท่ากับพันธุ์ชาร์โรเล่ส์
 
 
โคขาวลำพูน


      โคขาวลำพูน มีลักษณะประจำพันธุ์คือ  เขา และกีดเท้า มีสีน้ำตาลส้ม ขอบตา และเนื้อจมูก มีสีชมพูส้ม ขนพู่หาง สีขาวไม่มีเหนียงสะดือ ขนาดเหนียงคอปานกลางไม่พับย่นมากเหมือนกับโคบราห์มัน น้ำหนักแรกเกิด 18 กก. น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 122 กก. น้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้ 350 - 450 กก.เพศเมีย 300 - 350 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 2.5 ปี ระยะการอุ้มท้อง 290 - 295 วัน ช่วงห่างการให้ลูก 460 วัน      โคขาวลำพูนเป็นโคพื้นเมืองที่เกิดจากฝีมือและผลงานของชาวบ้านใน จังหวัดลำพูน มีการพัฒนาสายพันธุ์มานานกว่า 100 ปี เลี้ยงกันแพร่หลายในลำพูนและเชียงใหม่ แล้วแพร่กระจายไปยังจังหวัดลำปาง พะเยา เชียงราย เกิดขึ้นมาได้อย่างไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด

      บางท่านเล่าว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยพระนางจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญไชยพระองค์แรก เมื่อ 1,340 กว่าปีมาแล้วและเป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครอง ในสมัยนั้นใช้ลากเกวียน แต่หริภุญไชยก็ล่มสลายตั้งแต่ ครั้งเมื่อพ่อขุนเม็งรายมหาราชยึดครอง อีกทั้งเป็นเมืองร้าง สมัยพม่าครองเมือง ช่วงกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310     ในตำราฝรั่งบางเล่มกล่าวว่า ต้นตระกูลของโคพื้นเมืองในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะเป็นโคยุโรป ที่ไม่มีหนอก ซึ่งต่อมาถูกผสมข้ามโดยโคอินเดียที่มีหนอกเพราะโคในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะมี ลักษณะของทั้งยุโรปและโคอินเดียรวมกัน คือมีเหนียงคอสั้น หน้าผากแบนและหูเล็กแบบโคยุโรปมีหนอกแบบโคอินเดีย


      จากการออกสำรวจของ เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับข้อมูลของโคขาวลำพูน โดยออกเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า "โคขาวลำพูนได้พบเห็นมาช้านานแล้วอย่างน้อยก็ 70 -80 ปี และจะพบเห็นมากที่สุดในเขตพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เท่านั้น" เกษตรกรบางท่านเล่าว่า "ชาวเมืองลำพูนนิยมใช้โคขาวลำพูนลากเกวียน เพราะจะทำให้มีสง่า ราศีดี เนื่องจากเป็นโคที่มีลักษณะใหญ่และมีสีขาวปลอดทั้งตัว ใครที่มีโคขาวลำพูนเทียมเกวียนในสมัยก่อน เปรียบได้กับการมีรถเบนซ์ไว้ขับในสมัยนี้นั่นเอง และเนื่องจากมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน จึงเรียกโคพันธุ์นี้ว่า "โคขาวลำพูน" จากคุณสมบัติที่มีลักษณะเด่นและเป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์ โคขาวลำพูนจึงได้รับการคัดเลือก เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ดังเช่น พระโคเพชร และพระโคพลอย ในปี 2537พระโครุ่ง และพระโคโรจน์ในปี 2538 เป็นต้น
 
 
ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคเนื้อ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์